Sony Ericsson เเละ Motorola ออกมาอธิบายสาเหตุุว่าทำไม Android ถึงทำตัวอัพเดทได้ช้า
หนึ่งในปัญหาของ Android ส่วนใหญ่คือผู้ใช้มักจะรู้สึกอึดอัดก็ว่าต้องมาลุ้นว่าเครื่องของตัวเองจะได้รับตัวอัพเดทใหม่หรือไม่ นอกจากนี้เเล้วเครื่องบางรุ่นก็ไม่ได้รับตัวอัพเดทอีกต่างหาก เเต่ในที่สุด Sony Ericsson เเละ Motorola ก็ได้ออกมาอธิบายถึงกระบวนการทำงานเเละขึ้นตอนการอัพเดทว่าทำไมถึงมีความล่าช้าหลังจากออกตัวอัพเดทเฟิร์มเเวร์ใหม่จาก Google เป็นเวลาหลายเดือน
Sony Ericsson ได้บอกว่าขั้นตอนการพัฒนา นั้นกินเวลานานมาก คือเมื่อ Google ได้ปล่อยซอร์สของ Android เวอร์ชันใหม่ Sony Ericsson ต้องทำการร่วมมือกับผู้ผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อนำไดรเวอร์ของชิ้นส่วนเเต่ละอย่าง ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นกล้อง เซนเซอร์ เสียง Wi-Fi, GPS, เเละไดรเวอร์ของ GPU เพื่อให้ทำงานเข้ากับเเพลตฟอร์มของตัวประมวลผลนั้นๆ ด้วย (Qualcomm, TI OMAP) เเถมยังมีปัจจัยอย่างอื่นอย่างขนาดหน้าจอ หรือฟังชั่นการทำงานพื้นฐานการโทรศัพท์ ส่งข้อความ ที่ต้องทดสอบเพื่อให้เเน่ใจว่าใช้งานได้จริง รวมไปถึงการเเก้ไขบั๊กที่เกิดขึ้นต่างๆ ในการพัฒนา
นอกจากนี้เเล้วยังรายละเอียดในส่วนของการเพิ่มฟีเจอร์เฉพาะอย่างตัว UI ของตนเข้าไปอย่าง Timescape รวมไปถึงการเเปลเป็นภาษาถิ่น สำหรับโทรศัพท์ที่วางขายในหลายๆ ประเทศนั้นต้องทำการเเปลหลายภาษามากเลยทีเดียวหลังจากที่พัฒนาตามที่กล่าวมาด้านต้น เมื่อตัวอัพเดทนั้นผ่านการเทสเเละเสถียรมากพอเเล้ว จึงจะส่งตัวอัพเดทไปให้เครือข่ายเพื่อขอรับใบอนุญาติในการปล่อยตัวอัพเดท
ส่วน Motorola นั้นก็ออกมาอธิบายสั้นๆ เข้าใจง่ายกว่าของ Sony Ericsson โดยกล่าวว่าเมื่อหลังจาก Google ได้ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายหนึ่งในการออกเครื่องที่เรียกว่า “Google Experience Device” – GED (Motorola เคยเป็นพาร์ทเนอร์กับ Google สมัยทำ Motorola Xoom ที่เป็นเเท็บเล็ต Honeycomb ตัวเเรก) ละเมื่อหลังจากที่เครื่อง GED ออกมาเเล้ว Google ถึงจะทำการปล่อยซอร์สของ Android ตัวใหม่ออกมาพัฒนา โดย Motorola ได้อธิบายเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้
1. รวมตัวอัพเดทใหม่เข้ากับฮาร์ดเเวร์เดิม ซึ่งในขั้นตอนนี้ต้องทำงานร่วมกับผู้ส่งชิ้นส่วน เช่น NVIDIA หรือ TI OMAP เพื่อพัฒนาไดรเวอร์ของชิ้นส่วนให้ทำงานกับตัวอัพเดทใหม่ของ Google ได้ เเละทำงานร่วมกับโอเปอเรเตอร์สำหรับซอฟเเวร์บางตัวอย่าง MotoCast เพื่อไม่ให้มีปัญหาการใช้งานเวลาอัพเกรด
2. ทำการทดสอบเเละเเก้ไขบั๊กต่างๆ จนกว่าจะเสถียร
3. ส่งตัวอัพเดทให้โอเปอเรเตอร์เพื่อออกใบอนุญาติ ตรงนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการฝั่งโอเปอเรเตอร์เเต่ส่วนใหญ่จะกินเวลาตั้งเเต่ 1 – 3 เดือน
4. ปล่อยตัวอัพเดทให้ผู้ใช้ผ่าน OTA
จากที่ที่ทั้งสองค่ายได้ออกมาอธิบายขั้นตอนการส่งตัวอัพเดทนั้นก็ถือว่ามีความซับซ้อนมากเพราะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Wi-Fi, Bluetooth หรือของส่วนประกอบภายใน เเละต้องเทสหาบั๊กที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเเละทดสอบซ้ำหลายครั้งจนเเน่ใจว่าจะไม่เกิดปัญหาร้ายเเรง หลังจากนั้นจึงจะส่งไปเเปลเป็นภาษาท้องถื่นเเละส่งไปเพื่อรับใบอนุญาติในการอัพเดท เมื่อผ่านขั้นตอนทั้งหมดตัวอัพเดทใหม่ถึงจะมาถึงมือผู้บริโภคอย่างเราๆ กัน ฟังดูเเล้วขนาดไม่ได้ทำเเค่อ่านยังรู้สึกเหนื่อยเเทนเลยนะนี่ ใครที่อยากได้เร็วๆ คงต้องรอจากนักพัฒนาภายนอกที่ไม่ต้องส่งให้ใครตรวจเเต่อย่างใด ทดลองใช้หาบั๊กกันเองโลด XD
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น